เทคนิคในการลดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ (ตอนที่ 1)

ก่อนอื่นเราควรทราบกันก่อนว่าทำไมเราถึงท้องอืดหรือท้องเฟ้อ 
มันคือความรู้สึกที่เหมือนว่าอิ่มเกินไปหลังจากที่คุณทานเยอะเกินไป โดยอาจจะเกี่ยวกับประเภทของอาหารที่ทานเข้าไป, ความเร็วในการทาน, ทานเกลือ/ไขมัน หรือน้ำตาลมากเกินไป เเละนั่นจะเป็นสาเหตุทำให้เกิดเเก๊ส น้ำหนักขึ้น ท้องผูก หรือภาวะบวมน้ำ หรืออาการของโรคบางอย่าง เช่น โรค Celiac (โรคที่ภูมิคุ้มกันตอบสนองต่อกลูเตน), IBS เป็นต้น ก็ทำให้เกิดท้องอืด ท้องเฟ้อได้
เทคนิคเหล่านี้อาจช่วยลดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อได้
การลดการทานอาหารที่มีเเก๊สเยอะ
ถั่วเป็นเเหล่งที่ดีของไฟเบอร์หรือกากใย เเละโปรตีน ถั่วเองนั้นมีสารที่เรียกว่า Raffinose ที่จะต้องใช้เเบคทีเรียในการย่อย ทำให้เกิดการสร้างเเก๊สเเละนำไปสู่อาการท้องอืด ท้องเฟ้อได้ แต่นั่นก็ไม่ได้ว่าจะเลวร้ายนัก เพราะการเกิดอาการแบบนี้ก็ยังขึ้นอยู่กับเเต่ละคนเเละขึ้นอยู่กับประเภทของถั่วอีกด้วย ผักประเภท บร๊อคโคลี กระหล่ำปลี ก็มีสาร Raffinose ด้วยเช่นเดียวกัน ร่างกายของเราจะปรับตัวไปได้เอง ยาที่มีขายที่เคาน์เตอร์ยาทั่วไปก็อาจจะช่วยให้ร่างกายของเราย่อยอาหารเหล่านี้ได้ง่ายขึ้น
อาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตบางกลุ่มนั้นอาจจะย่อยยากในบางคน พวกมันอาจทำให้ทัองอืดจากเเก๊สเเละการสะสมของของเหลว FODMAPS ที่รวมทั้งเเลคโตสในอาหารประเภทนม น้ำตาลฟรุคโตสในผลไม้เเละน้ำผึ้ง เเละอื่นๆอีกมากมาย ดังนั้นการจดไว้ว่าร่างกายของเราทนกับอาหารอะไรได้บ้าง แล้วแชร์ข้อมูลนี้กับแพทย์เพื่อที่เราจะได้รู้ว่าอาหารประเภทอะไรที่เราควรหลีกเลี่ยง
การทานให้ช้าลง
ยิ่งเราทานเร็วเท่าไหร่ ก็เท่ากับว่าเรากลืนอากาศเข้าไปมากเท่านั้น ท้องของเราสามารถบวมขึ้นได้เมื่อมีอากาศเข้าไป ซึ่งบางครั้งมันก็จะส่งผ่านต่อไปยังลำไส้ของเรา บวกกับที่เราสามารถทานอาหารได้เยอะขึ้นเมื่อเราทานเร็ว นั่นก็เป็นเพราะมันต้องใช้เวลาประมาณ 30 นาทีในการที่กระเพาะของเราจะสั่งสมองว่าเราอิ่มเเล้ว ซึ่งนั่นก็จะทำให้เรารู้สึกท้องอืดท้องเฟ้อได้
การลดเครื่องดื่มที่มีฟอง
เเก๊สที่เรากลืนเข้าไปเมื่อเราดื่มเครื่องดื่มประเภทโซดาหรือเครื่องดื่มที่มีฟอง เช่น เบียร์, เเชมเปญ หรือ น้ำโซดา จะเข้าไปอยู่ในระบบย่อยอาหารของเรา การเรอจะช่วยปลดปล่อยเเก๊สเหล่านั้นออกไปได้บ้าง เเละบางส่วนก็จะเคลื่อนไปสู่ระบบย่อยอาหารจนกระทั่งมันผ่านไปถึงปลายทาง ที่เรียกว่าการผายลม นั่นเอง
การทานคาร์โบไฮเดรตอย่างฉลาด
ร่างกายของเรารับพลังงานประเภทนี้เข้าไปได้เร็วกว่าโปรตีนหรือไขมันที่ใช้เวลาในการย่อยนานกว่า หลังจากที่ร่างกายใช้คาร์โบไฮเดรตที่จำเป็นต่อร่างกายไปเเล้ว ส่วนที่เหลือจะถูกกักเก็บไว้ ในรูปแบบของไกลโคเจน ว้ เเละในรูปเเบของเซลล์
ไขมัน ทั้ง 2 เเบบนี้จะทำให้เรารู้สึกท้องอืด ท้องเฟ้อ ดังนั้นหากจะให้ร่างกายใช้เวลานานในการย่อยอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตนานขึ้น ก็สามารถทำได้โดยการหลีกเลี่ยงคาร์โบไฮเดรตจาก ขนมปังขาว หรือ เบเกอรี่ แล้วหันมาทานประเภท ธัญพืชที่มีการขัดสีน้อยเเละผักต่างๆ
Credit: www.webmd.com